ปัจจุบันประเทศลาวมีประชากรประมาณ 6,835,345 คน ( 2552 ) มีหลายเชื้อชาติ ภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า " ประชาชนบรรดาเผ่า สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
"ลาวลุ่ม"ซึงเป็นประชาการส่วนใหญ่ของประเทศมีประมาณ ๕๐ เปอร์เซนต์ อาศัยอยู่แถบราบลุ่มแม่น้ำโขง ในแขวงหลวงพระบาง เวียงจันทร์ ท่าแขก สะหวันนะเขต และจำปาสัก เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลครอบงำทางด้านสังคมและการปกครองของลาวมาแต่ครั้งโบราณ เชื่อกัน่าชาวลาวลุ่มสืบเชื้อสายเดียวกันกับชาวไทดำ ไทแดง ไทขาว และชาวอีสานที่พูดภาลาวในผั่งไทย
"ลาวเทิงหรือลาวบน" มีเชื้อสายมอญ-เขมร อาศัยอยู่บนเขาแต่ไม่ถึงยอดเขา โดยทั่วไปนับถือผีมากกว่าพุทธ เดิมพวกลาวลุ่มเรียกลาวเทิงว่า "ข่า" หรือ ทาส คิดจำนวนเป็น ๑๕-๒๐เปอร์เซนต์ของประชาการทั้งหมด
"ลาวสูง" อาศัยอยู่บนยอดเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไปประกอบไปด้วย เผ่าม้ง เมี่ยน อาข่า ลีซอ ฯลฯ ถ้าท่านยังจำได้ ไกด์น้อยที่อย่างอื่นไม่น้อยแห่งปากเซเล่าว่า ชนเชื้อชนเผ่าในลาวมีอยู่ประมาณ ๕๐-๖๐ ชนชาติ(ผิดถูกอยู่ที่ผู้เล่า) หากท่านสังเกตุตามธนบัตรใบละ ๑,๐๐๐ กีบ ถ้าท่านใดยังมีอยู่ละก็ นำขึ้นมาดูประกอบไปด้วยได้ สำหรับผมนั้นเงินกีบละลายไปหมดแล้วในคืนที่อยู่ปากเซโน้น.... เอาหละต่อ ท่านจะเห็นรูปแม่ยิงลาวสามคนในชุดพื้นเมืองของแต่ละเหล่า มีลาวสูง ลาวลุ่ม และลาวเทิง จากซ้ายไปขวาตามลำดับ
การดนตรี เครื่องดนตรีประจำภาคคือ แคน และการแสดงคือ หมอลำแคน ส่วนการฟ้อนรำและดนตรีส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากไทย
การแต่งกาย
ผู้หญิง นุ่ง Patoi (มีลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย) นิยมทำเป็นลายทาง ๆ เชิงผ้าเป็น สีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไป ไว้ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้
ผู้ชาย นุ่ง Patoi เป็นการนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชิ้น นอก กระดุมเจ็ดเม็ด
ผู้หญิง นุ่ง Patoi (มีลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย) นิยมทำเป็นลายทาง ๆ เชิงผ้าเป็น สีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไป ไว้ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้
ผู้ชาย นุ่ง Patoi เป็นการนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชิ้น นอก กระดุมเจ็ดเม็ด
ภาษา
ภาษาทางราชการคือ ภาษาลาว สำหรับภาษาฝรั่งเศสยังคงมีใช้อยู่ทั่วไป แต่ไม่ถือว่าเป็นภาษาทางราชการ รัฐบาลได้ทำการฟื้นฟูภาษาลาว และตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงภาษาลาว ออกอากาศไปทั่วโลก
ภาษาพูดประจำชาติลาว แม้จะสามารถพูดกันเข้าใจได้ทั่วประเทศ แต่สำเนียงการพูดแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค ทำให้รู้ได้ว่าผู้พูดเป็นคนภาคใด กล่าวคือ คนลาวทางหลวงพระบาง มีสำเนียงพูดคล้ายคนไทยทางภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ คนลาวตั้งแต่เวียงจันทน์จนถึงสีทันดอน มีสำเนียงพูดคล้ายคนไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับชาวเผ่าต่าง ๆ ใช้ภาษาของตนเอง ต่างไปจากภาษาลาว เช่น ภาษาแม้ว เย้า ย้อ อีก้อ เป็นต้น
อ้างอิง http://sitthichai24736.wordpress.com/2012/09/15/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7/
http://edulaopp.wikispaces.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7
http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/07_2.html
http://edulaopp.wikispaces.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7
http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/07_2.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น