การศึกษา
การศึกษา สปป.ลาว
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Democratic Republic) เป็นประเทศที่อยู่ในวงล้อมของ 5 ประเทศ คือ เวียดนาม กัมพูชา ไทย พม่า และจีน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล พื้นที่ประเทศทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาและที่ราบสูง ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ เมืองหลวงชื่อเวียงจันทน์ (Vientiane) ปกครองในระบบสังคมนิยม
การจัดการศึกษาของลาวเริ่มด้วยการศึกษาในระดับอนุบาลและก่อนวัยเรียน โรงเรียนอนุบาลในประเทศลาวจะมีทั้งโรงเรียนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน เปิดรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3-6 ปี ใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นชั้นอนุบาล 1-3 เมื่อจบชั้นอนุบาลแล้วจะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป
นับตั้งแต่ลาวได้เปลี่ยนการปกครองเมื่อปี ค.ศ.1975 (พ.ศ.2528) เป็นต้นมา ลาวได้ใช้ระบบการศึกษาเป็นแบบ 11 ปี คือระบบ 5 :3 :3 ดังนี้
• ประถมศึกษาใช้เวลาในการศึกษา 5 ปี เด็กจะเริ่มเข้าเรียนเมื่ออายุ 6 ปี การศึกษาในระดับนี้คือเป็นการศึกษาภาคบังคับ เด็กทุกคนต้องจบการศึกษาในระดับนี้ แต่ในทางปฏิบัติการศึกษาภาคบังคับจะมีผลดีแต่เฉพาะเด็กในเมืองใหญ่เท่านั้น เนื่องจากลาวมีพื้นที่ประเทศกว้างขวางและประชากรกระจายกันอยู่
• มัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี และในอนาคตจะให้เด็กได้เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น
• มัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี
การศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบ 5 -3 -3 นี้อยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกรมสามัญศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
• อุดมศึกษาหรือการศึกษาชั้นสูง รวมถึงการศึกษาด้านเทคนิค สถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกรมอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นการศึกษาเฉพาะทางซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงอื่น โดยเมื่อเด็กจบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษาแล้ว จะมีการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเสนอกระทรวงศึกษาธิการให้เด็กได้เข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ได้แก่
• สายอาชีพ
ใช้เวลาศึกษา 3 ปี ในวิทยาลัยเทคนิคต่างๆ เช่น ทางด้านไฟฟ้า ก่อสร้าง บัญชี ป่าไม้ เป็นต้น
• มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาที่สำคัญได้แก่
1. มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (เวียงจันทน์) ใช้เวลาศึกษา 6 ปี ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข
2. มหาวิทยาลัยแห่งชาติ (ดงโดก) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี
3. สถาบันสรรพวิชา (National Polytechnic Institute) ใช้เวลาศึกษา 6 ปี
อ้างอิง http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=390&catid=61
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น